น้ำหอม คือ สารละลายหอมระเหยของน้ำมันที่สกัดมาจากดอกไม้ในธรรมชาติ หรือสารธรรมชาติอื่นๆ หรือกลิ่นที่สังเคราะห์ขึ้น ในสารละลายแอลกอฮอล์ ซึ่งต้นกำเนิดของน้ำหอมเริ่มต้นเมื่อ 4,000 ปีก่อน โดยชาวเมโสโปเตเมีย เปอร์เซียและอียิปต์ ผู้คนจะใช้กลิ่นหอมในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่พิธีกรรมทางศาสนา การเตรียมฝังศพ จนถึงการนำมาพรมกายให้หอม
โดยชาวอียิปต์เชื่อว่าน้ำหอมคือเหงื่อของเทพแห่งดวงอาทิตย์ และถือว่าน้ำหอมคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ ชาวอียิปต์ยังนับถือเทพเจ้าแห่งน้ำหอมนามว่า เนเฟอร์ตุม ซึ่งมีสัญลักษณ์คือเครื่องประดับศีรษะที่ทำจากดอกวอเตอร์ลิลลี่ ซึ่งดอกไม้ชนิดนี้ได้กลายมาเป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอมที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
การให้กลิ่นของน้ำหอมในปัจจุบัน มักจะผสมหัวน้ำหอมชนิดต่างๆ ดังนี้
Top note หรือ Head note เป็นกลิ่นของหัวน้ำหอมที่ระเหยออกมาตัวแรกสุด เพราะมีโมเลกุลขนาดเล็กทำให้กลิ่นระเหยได้ง่าย จะมีกลิ่นหลังจากฉีดแล้ว 10-20 นาที ส่วนมากใช้ส่วนผสมจากมะนาว ส้ม ดอกลาเวนเดอร์ ตะไคร้ มะกรูด
Middle note หรือ heart note เป็นกลิ่นของน้ำหอมตัวหลักของน้ำหอมกลิ่นนั้น จะมีกลิ่นที่กลมกลืนไปกับ base note จะมีกลิ่นติดทนหลังจากฉีด 3-6 ชั่วโมง ส่วนมากจะใช้ส่วนผสมจากดอกไม้ต่างๆ ผลไม้ สมุนไพรและเครื่องเทศที่ให้กลิ่นหอม
Base note เป็นกลิ่นน้ำหอม ที่ออกมาหลัง Middle note ให้ความติดทนอาจอยู่นานถึง 24 ชั่วโมงเพราะเป็นโมเลกุลใหญ่ แต่กลิ่นเจือจางอ่อนๆ ส่วนมากใช้ส่วนผสมของเปลือกไม้ วนิลา มัสค์ แอมเบอร์กริสหรืออำพันทะเล หรืออีกชื่อที่รู้จักกันดีก็คืออ้วกวาฬ ซึ่งหายากและมีราคาแพงมาก
Bridge เป็นกลิ่นสุดท้ายของผู้ฉีดผสานกับกลิ่นของหัวน้ำหอมที่เจือจาง ออกมาจึงเป็นกลิ่นเฉพาะตัวของผู้ฉีดเอง
สารในน้ำหอมที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้
- พาราเบน (Paraben) เป็นสารกันเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แม้สารดังกล่าวจะได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม
- พาทาเลต (Phthalate) เป็นสารเคมีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเช่น โลชั่น สบู่ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมในน้ำหอมอีกด้วย
- หัวน้ำหอมที่สกัดมาจากดอกลาเวนเดอร์ ผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น มะนาว ส้ม มะกรูด สารสกัดจากโอคมอส อาจส่งผลให้เกิดการแพ้ระคายเคืองได้
ลักษณะผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis) ที่เกิดจากการแพ้น้ำหอม
1.ผื่นแพ้สัมผัสจากสารก่อการระคายเคือง (Irritant Contact Dermatitis) มักขึ้นกับความเข้มข้นหรือปริมาณน้ำหอมที่ฉีด จะยิ่งมีอาการมากขึ้นหากฉีดในปริมาณที่มากหรือใช้หัวน้ำหอมในสัดส่วนที่สูง สามารถเกิดได้กับทุกคน มักเกิดได้ทันทีหรือภายใน 2 วัน ผื่นอาจมีความแดง แห้ง คันหรือมีอาการลอก ขอบเขตของผื่นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หากมีการใช้ซ้ำ
2.ผื่นแพ้สัมผัสแบบผิวหนังอักเสบ (Allergic Contact Dermatitis)ผื่นชนิดนี้ไม่ขึ้นกับความเข้มข้นของน้ำหอมที่ใช้ และไม่ได้เกิดกับทุกคน บางครั้งไม่ได้เกิดขึ้นในครั้งแรก แต่เมื่อมีการใช้ซ้ำๆ จะมีอาการแสดงออกมา เช่น ตุ่มแดง พอง มีน้ำเหลือง มักเกิดจากการแพ้สารใดสารหนึ่งในน้ำหอม
แนวทางการป้องกันผื่นแพ้สัมผัสจากน้ำหอม
- ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใช้น้ำหอมโดยตรงกับผิว หากเคยทำการทดสอบโดยการทาบริเวณข้อพับ แล้วมีอาการแสบแดง ระคายเคืองและสำหรับคนแพ้แต่อยากตัวหอมเพราะชอบกลิ่นน้ำหอมนั้นๆ อาจใช้วิธีฉีดน้ำหอมใส่เสื้อผ้า ใส่ผ้าเช็ดหน้าแล้วพกใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกงแทนได้
- ควรหยุดการใช้น้ำหอมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมนั้นทันที หากมีอาการแพ้ โดยมากผื่นนั้นมักจะหายภายใน 5-10 วัน แต่หากมีอาการรุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์
แล้วถ้าอยากกำจัดกลิ่นเหม็นแล้วใช้น้ำหอมไม่ได้ล่ะ ?
หากท่านที่แพ้น้ำหอม แต่อยากได้ตัวช่วยที่ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น Natpier air freshener นวัตกรรมสเปรย์กำจัดกลิ่นที่มีสารสกัดจากหญ้าเนเปียร์ ผลิตจากธรรมชาติ 100% ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ ไม่มีสารตกค้าง ผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อเยื่อบุผิวหนัง ทางเดินหายใจ และปอด ไม่มีสารก่อมะเร็ง จากศูนย์วิจัยสุขภาพและความงาม มาโนเซ่ สเปรย์กำจัดกลิ่น Natpier air freshener จะสามารถช่วยแก้ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ให้แก่ท่านได้ และยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แก่ท่านอีกด้วย
อ้างอิง : พญ. อนิตา นิตย์ธีรานนท์ โรงพยาบาลสมิติเวช
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/แพ้น้ำหอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น